Categories
Education

การศึกษา(ไทย) จะไปทิศทางไหน

ระบบการศึกษาจะไปทิศทางไหน ลองมาดูแนวคิดของ Sir Ken Robinson นำเสนออย่างสร้างสรรค์ เกี่ยวกับระบบการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นี้

Categories
Scratch

Scratch กับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Scratch สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กใน 9 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1. ทักษะในการใช้สารสนเทศและสื่อต่างๆ (Information and Media Literacy Skills)

การเรียนรู้ผ่านโปรเจกใน Scratch จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การเลือกสื่อ การสร้างสื่อ และการจัดการสื่อชนิดต่างๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ แอนิเมชั่น และ เสียง ในขณะที่เด็กได้เพิ่มพูนประสบการณ์ในการสร้างสื่อต่างๆ พวกเขาจะมีมุมมองกว้างขึ้น และสามารถวิเคราะห์วิจารณ์สื่อที่เห็นอยู่รอบๆตัวพวกเขาได้

2. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)

ประสิทธิภาพในการสื่อสารในยุคปัจจุบันต้องการอะไรที่มากกว่าการอ่านเขียนตัวหนังสือ Scratch มีช่องทางให้เด็กๆ สามารถเลือกสื่อ จัดการสื่อ และผสมสื่อชนิดต่างๆ เพื่อใช้แสดงตัวตน แสดงความคิดเห็นของพวกเขาในทางสร้างสรรค์

3. การคิดแบบมีวิจารณญาณ และคิดอย่างเป็นระบบ (Critical Thinking and Systems Thinking)

ขณะที่เด็กๆเรียนการเขียนโปรแกรมใน Scratch พวกเขาต้องใช้เหตุผล และคิดอย่างเป็นระบบ เด็กๆต้องประสานเรื่องของเวลา และการโต้ตอบระหว่างตัวละครให้สอดคล้องกัน เพื่อจะสร้างโปรเจกให้สำเร็จ ความสามารถในการเขียนโปรแกรมที่มีการโต้ตอบกัน จะทำให้พวกเขามีประสบการณ์ตรง เกี่ยวกับการรับรู้ (sensing) การตอบสนอง (feedback) และหลักการพื้นฐานของระบบ

4. ความสามารถในการระบุถึงปัญหา กำหนดปัญหา และวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ (Problem Identification, Formulation & Solution)

Scratch ยังสนับสนุนให้เด็กๆ ค้นหาต้นตอของปัญหา และแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆ การสร้างโปรเจกใน Scratch ต้องคิดวางแผน จากนั้นคิดวิธีแจกแจงปัญหาออกมาเป็นขั้นตอน และสร้างมันด้วยบล็อกคำสั่งใน Scratch ซึ่งถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อได้ง่าย ทำให้เด็กๆ สามารถเปลี่ยนบล็อกคำสั่ง (code) ไปมาได้ตลอดเวลา และเห็นผลลัพท์ได้ทันที เช่นเพิ่มค่าตัวเลขเป็นสองเท่าเพื่อดูว่าผลกระทบกับกราฟิกเปลี่ยนเป็นเช่นไร Scratch ทำให้พวกเขาได้ฝึกลองผิดลองถูกในการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอนตลอดกระบวนการออกแบบและสร้างโปรแกรม

 5. ความคิดสร้างสรรค์ และความสงสัยใฝ่รู้ เสาะหาความรู้ใหม่เพื่อประเทืองปัญญา (Creativity and Intellectual Curiosity)

Scratch ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากในโลกทุกวันนี้ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Scratch มีส่วนให้เด็กๆพยายามหานวัตกรรมในการแก้ปัญหา ที่ไม่เคยคาดคิดหรือเคยเจอมาก่อน โดยไม่เพียงแต่เรียนรู้การแก้ปัญหาที่ถูกกำหนดขึ้นมาก่อน แต่ต้องแตรียมพร้อมที่จะคิดค้นวิธีการใหม่ๆ เมื่อเกิดปัญหาท้าทายใหม่ๆ ขึ้นมา

6. ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และทำงานร่วมกันได้ (Interpersonal and Collaborative Skills)

เป็นเพราะว่าโปรแกรมใน Scratch ถูกสร้างมาด้วยกราฟิกบล็อก ซึ่งเป็นโค้ดคำสั่ง ที่อ่านเข้าใจง่าย และสามารถแลกเปลี่ยนและใช้ร่วมกันได้ มากกว่าโปรแกรมภาษาอื่นๆ วัตถุต่างๆ ที่เห็น และชุดคำสั่งใน Scratch จึงสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ทำให้เด็กๆ ทำงานร่วมกันในโปรเจกต่างๆ และสามารถแลกเปลี่ยนวัตถุ และชุดคำสั่งเหล่านั้นระหว่างกันได้

7. รู้ความต้องการของตัวเอง และการนำตัวเองไปสู่เป้าหมายได้ (self direction)

การนำแนวคิดมาสู่การเขียนโปรแกรมใน Scratch ต้องอาศัยการฝึกฝน และความอดทนต่อเนื่อง เมื่อเด็กๆ ได้ทำโปรเจกที่ต้องการตามแนวคิดที่พวกเขาคิดค้นด้วยตัวเอง แนวคิดของพวกเขาจะผลักดัน และกระตุ้นให้เอาชนะสิ่งที่ท้าทาย และความยากลำบากที่พวกเขาต้องเผชิญ ในกระบวนการออกแบบและการแก้ปัญหา

8. ความรับผิดชอบในหน้าที่ และความสามารถในการปรับตัว (Accountability and Adaptability)

เมื่อเด็กๆ สร้างโปรเจกใน Scratch พวกเขามักจะมีกลุ่มเป้าหมายในใจ และมักจะคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรกับโปรเจกของพวกเขา และการที่โปรเจกใน Scratch นั้นง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ทำให้เด็กๆ สามารถปรับเปลี่ยนโปรเจกได้ตามความคิดเห็นหรือข้อแนะนำ ของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานคนอื่นๆ

9. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)

เมื่อเด็กๆ สร้างโปรแกรมใน Scratch ซึ่งสามารถใช้ร่วมกันได้ แลกเปลี่ยนกันได้ ทำให้พวกเขาสามารถใช้โปรแกรมนั้นๆ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นสำคัญต่างๆ ร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม (ในสังคม) ของตนเอง หรือแม้กระทั่งในสังคมของ Scratch ที่มีอยู่ทั่วโลก

ที่มา Natalie Rusk, Mitchel Resnick, and John Maloney, “Learning with Scratch, 21st Century Learning Skills,” Lifelong Kindergarten Group, MIT Media Laboratory.

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 21st Century Learning Skills ที่เว็บไซต์ Partnership for the 21st Century